เขียนโดย Adminstrator หมวด: แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด 5 ปี
เผยแพร่เมื่อ 05 ตุลาคม 2559 ฮิต: 2067
พิมพ์

แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 พ.ศ.2561-2564

        

ข้อมูลสภาพทั่วไปของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๒

 

๑.๑ ความเป็นมา
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ เห็นชอบการปรับปรุงการจัดกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัด รวมทั้งให้จัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (OSM) ในจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และตามคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยที่ ๑๑๐/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เรื่อง จัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยที่รายงานตรงต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย
การจัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดในจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัด เพื่อเป็นเจ้าภาพในการประสานงาน เพื่อเชื่อมโยงและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผล โดยทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการแผนพัฒนาและงบประมาณในระดับกลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๒ ประกอบด้วย ๔ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธรและจังหวัดอำนาจเจริญ
สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดมีโครงสร้างการบริหารงาน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ เห็นชอบการปรับปรุงการจัดกลุ่มจังหวัดและการกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัด รวมทั้งให้จัดตั้งสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (OSM) ในจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ

๑.๒ ลักษณะทางกายภาพ
 ที่ตั้งและอาณาเขต
พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๒ ตั้งอยู่ในตอนล่างของประเทศไทย ประกอบด้วย ๔ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร และจังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่รวมกันประมาณ ๓๑,๙๐๗ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๙,๙๔๒,๓๓๖ ไร่ คิดเป็นร้อย ๑๘.๘๙ ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ ๖.๒ ของพื้นที่ประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านระยะทางรวม ๖๐๑ กิโลเมตร ดังนี้
จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ระยะทาง ๓๖๑ กิโลเมตร
มีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา ระยะทาง ๖๗ กิโลเมตร
จังหวัดศรีสะเกษ มีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา ระยะทาง ๑๓๕ กิโลเมตร
จังหวัดอำนาจเจริญ มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ระยะทาง ๓๘ กิโลเมตร
 อาณาเขต
ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักร
กัมพูชา
ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและสุรินทร์
ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา

 

 

ทำเนียบผู้บริหาร